简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:มิติใหม่!! แฮกเกอร์พยายามจ้าง คนในองค์กรด้วย ‘Bitcoin’ ปล่อยไวรัสแรนซัมแวร์คุกคามบริษัท
อะไรกันครับเนี่ย!! นี่มันคือมิติใหม่แห่งวงการอาชญากรโลกหรือเปล่า? เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการตรวจพบแฮกเกอร์ชาวไนจีเรีย มีพฤติกรรมที่พยายามจะจ้างพนักงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ด้วยเงินกว่า 1 ล้านดอลลาร์ ในรูปแบบของ ‘Bitcoin’ เพื่อให้ปล่อยไวรัส ‘แรนซัมแวร์’ ที่ชื่อว่า ‘Black Kingdom’ ป่วนองค์กร หวังเรียกค่าไถ่!!
“ผู้ร้ายส่งข้อความบอกกับพนักงานว่า หากพวกเขาสามารถปรับใช้ ‘แรนซัมแวร์’ บนคอมพิวเตอร์ของบริษัทหรือเซิร์ฟเวอร์ Windows ได้สำเร็จ พวกเขาจะได้รับเงิน 1 ล้านดอลลาร์เป็น ‘Bitcoin’ หรือ 40% ของค่าไถ่ ประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์ที่สันนิษฐานไว้” ‘Abnormal Security’ กล่าวในรายงาน
โดยจากข้อมูลของผู้ร้ายยังระบุไว้อีกว่า พนักงานจะใช้วิธีในการติดตั้งไวรัส‘แรนซัมแวร์’ ทั้งแบบกายภาพ หรือระยะไกลก็ได้ ซึ่งผู้ร้ายจะมีวิธีการติดต่อสองวิธีหากพนักงานสนใจ นั่นคือบัญชีอีเมล Outlook และชื่อผู้ใช้โทรเลขนั่นเอง
ต่อมา ‘Black Kingdom’ หรือที่รู้จักในชื่อ ‘DemonWare’ และ ‘DEMON’ คือ ‘แรนซัมแวร์’ ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เมื่อพบว่าเคยมีผู้ร้ายใช้มันจากข้อบกพร่องของ ‘ProxyLogon’ ที่ส่งผลกระทบต่อ Microsoft Exchange Servers เพื่อทำให้ระบบติดไวรัสแรนซัมแวร์
อ่านมาถึงจุดนี้หลายๆ คนคงสงสัยว่าเจ้า ‘แรนซัมแวร์’ มันคืออะไรกันแน่? แล้วมันสร้างความปั่นป่วนให้กับองค์ได้ย่างไร? ทาง ‘Wikibit’ จะอธิบายให้ฟัง โดย ‘แรนซัมแวร์’ นั้นเป็น ‘มัลแวร์’ ประเภทหนึ่งที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลเหมือนกับมัลแวร์ทั่วไป แต่ ‘แรนซัมแวร์’ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการเข้ารหัส และล็อกไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพ เสียง ข้อความ เอกสารต่างๆ หากถูกล็อกแล้วจำเป็นต้องใช้รหัสเพื่อขอการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งสาเหตุที่ผู้ร้ายใช้ ‘แรนซัมแวร์’ ป่วนองค์กรในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะ ‘เรียกค่าไถ่’ เป็นเงินจำนวนมหาศาล สำหรับการขอรหัสเข้าถึงไฟล์ ที่บริษัทผู้โชคร้ายจำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ได้มันมานั่นเอง
แต่จุดที่น่าตกใจก็คือผู้ร้ายกลับใช้ ‘Bitcoin’ ในการพยายามต่อรองกับทางพนักงาน เพื่อให้ปล่อยไวรัส ‘แรนซัมแวร์’ เข้าสู่ระบบขององค์กรดังกล่าว ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของ ‘Bitcoin’ ว่ามันสามารถใช้เป็นเครื่องในการก่ออาชญากรรมได้ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงความคิดที่จะนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ของผู้ร้ายเท่านั้น ในด้านที่ดีของ ‘Bitcoin’ ยังมีให้เห็นอีกเยอะแยะมากมาย ซึ่งคุณสามารถติดตามข่าวสารดีๆ สาระความรู้ และรูปแบบกลโกงต่างๆ ได้ที่แอป ‘Wikibit’ แถมแอปนี้ยังสามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนได้อีกด้วย หากรู้ว่าดีขนาดนี้แล้วอย่ารอช้าโหลดเลย!!
แอปพลิเคชั่น ‘Wikibit’ เป็นแอปที่คุณสามารถใช้ตรวจสอบ ‘แอปเทรดคริปโต’ ‘เหรียญคริปโต’ และ ‘DeFi’ ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่กดค้นหาเท่านั้น ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะปรากฏขึ้นมาแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คะแนนความน่าเชื่อถือจากแอป ใบอนุญาต ข้อมูลโครงการ การเยี่ยมชมจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการมีอยู่ของบริษัทนั้น ‘Whitepaper’ แถมตัวแอปยังมีการอัปเดตข้อมูลข่าวสาร และรูปแบบกลโกงในวงการคริปโตไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย ถือว่าครบจบในแอปเดียว โหลดเลย!!
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการคริปโต พร้อมตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ได้ที่….
App : “WikiBit” (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!)
Facebook : https://www.facebook.com/Wikibit.th/ (กด SEE FRIST เพื่อที่คุณจะไม่พลาดข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ จากทางเพจ)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : enterpriseitpro.net
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ตัวตนของ “ซาโตชิ นากาโมโตะ” ผู้สร้าง Bitcoin ยังคงเป็นปริศนาที่โลกคริปโทไม่เคยไขกระจ่าง แม้เวลาจะผ่านไป Benjamin Wallace นักสืบและอดีตนักเขียน Newsweek ได้อุทิศเวลาถึง 15 ปี เพื่อตามหาผู้สร้าง Bitcoin โดยการวิเคราะห์หลักฐานที่ซาโตชิทิ้งไว้ รวมถึงตรวจสอบสมาชิกกลุ่ม Cypherpunks ที่น่าสงสัย เช่น James A. Donald อย่างไรก็ตาม แม้จะพบเบาะแสที่เชื่อมโยงได้มากมาย Donald กลับปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา Wallace ตระหนักในที่สุดว่า Bitcoin ได้เติบโตขึ้นจนอยู่เหนือผู้สร้าง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของซาโตชิอีกต่อไป โดยซาโตชิอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพทางการเงินในศตวรรษที่ 21 มากกว่าจะเป็นตัวตนของใครคนหนึ่ง
คณะทำงานด้านคริปโทเคอร์เรนซีของ SEC สหรัฐฯ จัดการประชุมโต๊ะกลมครั้งแรกเพื่อหารือถึงแนวทางการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและกรรมาธิการ SEC เข้าร่วม การประชุมเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมคริปโทฯ และยกเลิกมาตรการควบคุมเข้มงวดในยุครัฐบาลไบเดน เช่น การฟ้องร้องบริษัทคริปโทฯ รายใหญ่ การหารือครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การจัดประเภทโทเคนดิจิทัลและการพัฒนากฎเกณฑ์ใหม่ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโทฯ ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม
ความเสี่ยงในการลงทุนในคริปโต
Malone Lam ชาวสิงคโปร์วัย 20 ปี ถูกตั้งข้อหาในสหรัฐฯ ฐานขโมย 4,100 BTC มูลค่า 230 ล้านดอลลาร์ โดยใช้วิธีหลอกลวงเหยื่อผ่าน social engineering และฟอกเงินด้วย crypto mixers หากถูกตัดสินว่าผิด เขาอาจถูกจำคุกสูงสุด 20 ปี โดยมีกำหนดไต่สวนวันที่ 6 ตุลาคม 2025
FBS
Saxo
XM
IC Markets Global
Exness
FXTM
FBS
Saxo
XM
IC Markets Global
Exness
FXTM
FBS
Saxo
XM
IC Markets Global
Exness
FXTM
FBS
Saxo
XM
IC Markets Global
Exness
FXTM