简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทองคำปรับตัวขึ้นในช่วงตลาดเอเชีย จากปัจจัยหนุน 2 ประการ
-ปฏิทินเศรษฐกิจและการประกาศข้อมูลสำคัญที่กำลังจะมาถึง ซึ่งสามารถดูได้ผ่านทางปฏิทินข่าวสารฟอเร็กซ์ของ WikiFX ข้อมูลต่างๆ จะได้รับการอัพเดทแบบอัตโนมัติเพื่อให้คุณได้รับข้อมูลล่าสุดที่สามารถส่งผลต่อการเทรดได้ นอกจากนี้ถ้าหากคุณพลาดการรับข้อมูลนี้ คุณสามารถดูข้อมูลย้อนหลังที่ปฏิทินข่าวสารฟอเร็กซ์ เพื่อดูเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
สรุป ราคาทองคําวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 11.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาปรับตัวขึ้นก่อนในช่วงตลาดเอเชีย ยุโรปและช่วงต้นของตลาดสหรัฐ โดยมีปัจจัยหลักที่หนุนทอง 2 ประการ ได้แก่
(1.) แรง ซื้อทองคําในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ หลังจากนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้เดินทางไนยังไต้หวัน แม้จะเผชิญค้ําจาก จีนอย่างต่อเนื่อง และ
(2) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานลดลงเกินคาดสู่ระดับ 10.7 ล้านตําแหน่งในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ําสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2021 ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนให้ทองคําทะยานขึ้นทดสอบ ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนบริเวณ 1,788.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคําปรับตัวลงแรงในเวลาต่อมา ส่วนหนึ่งเกิดจากแรงขายทํากําไรหลังจากนางเพโลซีถึงไต้หวันโดยปราศจาก เหตุการณ์รุนแรง อีกส่วนหนึ่งมาจากแรงขายทางเทคนิค แต่ปัจจัยกดดันสําคัญ คือ การแข็งค่าของดอลลาร์ขานรับถ้อยแถลงในเชิง Hawkish ของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนางแมรี เดลี ประธานเฟดซานฟรานซิสโกที่คาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปก่อนจากนั้นจะ “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ “ชั่วขณะหนึ่ง” ส่วนนางลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดคลีฟแลนด์ ตั้งข้อสังเกตว่าอัตราเงินเฟ้อยัง ไม่ถึงจุดสูงสุดและจําเป็นต้องเห็นหลักฐานที่ชัดเจนเป็นเวลาหลายเดือนว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่บนเส้นทางที่ยั่งยืนที่จะลดลงสู่เป้าหมาย 25% ของเฟด ก่อนที่ผู้กําหนดนโยบายจะผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ ขณะที่นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดเซ็นต์หลุยส์ กล่าวว่า หากอัตราเงินเฟ้อไม่ปรับตัวลงตามที่คาด อัตราดอกเบี้ยจะต้องยังคง “สูงขึ้นไปอีกนาน” สถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ทองคําร่วงลงเกือบ 30 ดอลลาร์จากระดับสูงสุดปิดตลาดบริเวณ 1,753.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -2.90 ต้น สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคบริการและยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน
หลังจากราคาทิ้งตัวลงแรงวานนี้ มีแรงซื้อดันให้ราคาฟื้นตัวขึ้นได้บ้าง ทั้งนี้ ในระยะสั้นหากราคาสามารถยืนเหนือ แนวรับโซน 1,754-1,747 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้มีแนวโน้มดันขึ้นสู่บริเวณ 1,772-1,788 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามในโซนดังกล่าวขึ้นไป ต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะออกมา หากราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน โซนดังกล่าวได้
คําแนะนําเปิดสถานะซื้อ $1,754-1,747
จุดทํากําไรขายเพื่อทํากําไร $1,772-1,788
ตัดขาดทุนตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,747
บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
รีวิวโบรกเกอร์
ตลาด Forex ในปัจจุบันที่เปิดกว้างให้ใครก็สามารถเทรดค่าเงินได้ผ่านมือถือ มีจุดเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในอดีต โดยเฉพาะระบบ Bretton Woods ในปี 1944 ซึ่งกำหนดให้ทุกประเทศผูกค่าเงินกับดอลลาร์ และดอลลาร์ผูกกับทองคำ ก่อนที่สหรัฐฯ จะยกเลิกระบบดังกล่าวในปี 1971 ส่งผลให้ค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาด ตั้งแต่นั้นมา การเทรดค่าเงินที่เคยเป็นเรื่องของรัฐและสถาบันการเงิน ก็เริ่มเปิดกว้างขึ้นในยุคอินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นตลาดระดับโลกมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ต่อวันในปัจจุบัน บทความชวนผู้อ่านมองย้อนอดีตเพื่อเข้าใจรากเหง้าของระบบการเงินโลก และตระหนักว่าการเทรดไม่ใช่แค่เรื่องกราฟ แต่คือผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงระดับโลกตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
รีวิวโบรกเกอร์
รายงาน Non-Farm Payrolls ของสหรัฐฯ เป็นข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามองทุกเดือน เนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อทิศทางดอกเบี้ยและตลาดการเงินโลกในทันที ตัวเลขการจ้างงาน อัตราว่างงาน และค่าแรงเฉลี่ย เป็นตัวชี้วัดสุขภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อนโยบายของ Fed หากตัวเลขออกมาดีกว่าคาด ตลาดมักตีความว่า Fed อาจขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ตัวเลขต่ำกว่าคาดอาจนำไปสู่การผ่อนคลายนโยบายการเงิน นักลงทุนควรติดตามตัวเลขคาดการณ์ เปรียบเทียบกับผลจริง และพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจเพื่อวางกลยุทธ์การลงทุนอย่างรอบคอบ
Doo Prime
IC Markets Global
HFM
ATFX
FBS
XM
Doo Prime
IC Markets Global
HFM
ATFX
FBS
XM
Doo Prime
IC Markets Global
HFM
ATFX
FBS
XM
Doo Prime
IC Markets Global
HFM
ATFX
FBS
XM