简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เศรษฐกิจถดถอย (Recession) คืออะไร? แล้วประเทศไทยจะรับมืออย่างไร !
เศรษฐกิจถดถอย (Recession) เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยมากยิ่งขึ้นในช่วง 1-2 เดือนมานี้ แม้กระทั่งชาวคริปโททั้งหลายที่แต่เดิมอาจจะไม่ค่อยสนใจติดตามเรื่องเศรษฐกิจมากนัก แต่ปีนี้บอกได้เลยว่าต่อให้ไม่สนใจก็เจอคำนี้วนเวียนหลอกหลอนกันให้เมาหัวไปเลย
.
Recession คืออะไร ? ระยะถดถอย เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอการขยายตัว หลังจากเจริญรุ่งเรืองอย่างเต็มที่ เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มเป็นขาลง เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การจ้างงาน และ ความต้องการสินค้าโดยรวมลดลง ธุรกิจเริ่มขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้เราเข้าใจ Recession ง่านขึ้น เราจึงควรรู้จักกับคำว่า “GDP” กันเสียก่อน
GDP หรือ Gross Domestic Product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ใช้ดูว่า เศรษฐกิจเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ โดยชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ภาครัฐ และบุคคลภายในประเทศ ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจประเมินได้ว่า จะเริ่มขยายการจ้างแรงงานเมื่อใด ส่วนภาครัฐก็ประเมินได้ว่า จะดำเนินการเก็บและใช้งบภาษีเท่าไหร่ เมื่ออยู่ในช่วงเศรษฐกิจกำลังเติบโตนั้น GDP จะค่อย ๆ เพิ่มมากกว่าไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นสัญญาณว่าผู้คนทำงานและมีเงินเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ รัฐบาล และเจ้าของธุรกิจมักคาดหวังให้ GDP เติบโตอย่างเสถียร เพราะเมื่อ GDP เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมสะท้อนว่าผู้คนใช้จ่ายมากขึ้น สร้างงานสร้างอาชีพได้มากขึ้น จ่ายภาษีได้มากกว่าเดิม และลูกจ้างก็ได้รับค่าจ้างมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกัน หาก GDP ตกลง เศรษฐกิจก็หดตัว ยิ่งถ้า GDP ตกลงติดต่อกันนาน 2 ไตรมาสหรือที่เรียกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น ก็จะทำให้ค่าจ้างแรงงานหยุดชะงักและผู้คนตกงานกัน
.
ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ทยอยลดลงในหลายประเทศ เป็นผลให้ธนาคารกลางต่างๆ มี แนวโน้มชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ความกลัวในการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยลดลงมา ยกเว้น ในฝั่งยุโรปที่เงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างไรก็ตามความกลัวเรื่อง Recession ของหลายประเทศ ก็เข้ามาแทนที่ ซึ่งถูกย้ำด้วย ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ถูประกาศออกมา ล่าสุดสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขการผลิต ภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค.65 -0.1%MoM หลังจากปรับตัวขึ้น 0.1% ใน ก.ย.65 ซึ่งอาจ เป็น Indicator ชี้นำถึงภาพเศรษฐกิจในอนาคต อย่างไรก็ตามมีแรงพยุงจากตัวเลขยอดค้า ปลีก +1.3%MoM ในเดือน ต.ค.65 สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 1.0%
ขณะไทยที่ยังคงมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง อ้างอิงจาก ธปท. ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/65 ที่สภาพัฒน์ จะประกาศในวันที่ 21 พ.ย. นี้ เชื่อว่าจะขยายตัวเกิน 3% ซึ่งเป็นการ เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/65 ที่ 2.5% และไตรมาส 1/65 ที่ 2.2% ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของ ธปท. ทั้งปีนี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 3.3% ซึ่งยังห่างไกลกับคำว่า Recession
สรุป เงินเฟ้ออังกฤษที่ปรับขึ้นแรงและไม่มีวี่แววว่าจะชะลอ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของหลายประเทศเริ่มบ่งชี้ถึงความกังวล Recession มากขึ้นทุกที ซึ่งสวนทางกับไทยที่ เศรษฐกิจยังแข็งแกร่งห่างไกลกับคำว่า Recession หนุน Flow ไหลเข้าทั้งทางตรง และทางอ้อมในระยะกลาง-ยาว
ขอบคุณข้อมูลจาก : Investing.com , efinancethai
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เมื่อเทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามา WikiFX ขอส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจถึงคุณ ด้วยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากคุณในเส้นทางการลงทุน WikiFX มุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลฟอเร็กซ์ที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
อาการทนแดงและไม่ทนฟ้าเกิดจาก “ความโลภ” และ “ความกลัว” ซึ่งเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเผชิญ การแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยวินัย ความรู้ และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากคุณสามารถวางแผนการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการความเสี่ยงได้ดี และควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ คุณจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ให้เป็นโอกาสในการทำกำไรในตลาด Forex ได้อย่างยั่งยืน
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้