简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มข้อยกเว้นกรณีผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลและให้บริการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกให้กับลูกค้า ไม่ถือเป็นการให้บริการกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลที่รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (DA custodial wallet provider) รวมทั้งให้ผู้ออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ที่มีบริการเก็บรักษาและรับฝากโทเคนดิจิทัลที่ตนออกเสนอขายต้องมีระบบงานหรือกลไกแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าออกจากของผู้ออก (segregation) รวมถึงห้ามนำสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไปหาประโยชน์ต่อ
ตามที่ประกาศกระทรวงการคลังได้กำหนดให้ธุรกิจ DA custodial wallet provider เป็นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องได้รับอนุญาต โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 นั้น ก.ล.ต. พบว่า นิยามของประเภทธุรกิจดังกล่าวอาจครอบคลุมการให้บริการรับฝากหรือเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทซึ่งรวมถึงกรณีที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ กรณีผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลและให้บริการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวให้กับลูกค้าด้วย
ก.ล.ต. จึงเห็นควรทบทวนหลักการกำกับดูแล DA custodial wallet provider โดยในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 15/2565 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 มีมติเห็นชอบการทบทวนหลักการดังกล่าว โดยเพิ่มข้อยกเว้นกรณีการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลโดยผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลและเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกให้กับลูกค้า ไม่ถือเป็นการให้บริการตามนิยาม DA custodial wallet provider เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกำกับดูแลธุรกิจผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล
นอกจากนี้ สำหรับผู้ออก investment token ที่มีการให้บริการเก็บรักษาและรับฝากโทเคนดิจิทัลที่ตนออกเสนอขาย ต้องจัดให้มีระบบงานหรือกลไกที่แยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าออกจากของผู้ออกให้ชัดเจน (segregation) รวมถึงห้ามนำสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าที่ฝากไว้ไปหาประโยชน์ต่อ
ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นการทบทวนหลักการกำกับดูแล DA custodial wallet provider ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ สำหรับผู้ใช้งาน WikiFX ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. จนถึงวันที่ 26 มกราคม 2566
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GVD Markets ออกคำเตือนด่วนถึงนักเทรดทั่วโลก หลังพบเว็บไซต์ปลอมในอินโดนีเซียแอบอ้างชื่อและโลโก้ของบริษัท เพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ฝากเงิน ก่อนยึดทรัพย์สินโดยผิดกฎหมาย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงิน GVD Markets จึงร่วมกับ WikiFX เร่งตรวจสอบ พร้อมแนะนำให้นักเทรดตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ และรายงานกิจกรรมต้องสงสัยทันที เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์ในอนาคต
Michael Bamber เทรดเดอร์สายกองทุน แชร์ 5 หลักการเร่งเส้นทางสู่ความสำเร็จในตลาด Forex โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกนานปี เน้นวินัย ระบบความเสี่ยงที่ชัดเจน คุมขาดทุนรายวัน มีกลยุทธ์สำรอง และควบคุม Drawdown จุดสำคัญคือ “อยู่รอด” ไม่ใช่แค่ “ได้เยอะ” – เพราะตลาดมีทุกวัน แต่พอร์ตพังได้แค่ครั้งเดียว.
บทความนี้พาผู้อ่านไปรู้จักกับ “ดาร์กเว็บ” พื้นที่ลับของอินเทอร์เน็ตที่มักใช้ในการซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย เช่น บัญชีการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต และซอฟต์แวร์แฮกระบบ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเทรด โดยเฉพาะในยุคที่การลงทุนเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์อย่างแน่นแฟ้น บทความยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 5 ข้อ เช่น ใช้ 2FA และตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดไปยังพื้นที่อันตรายเหล่านี้ พร้อมย้ำว่า “การรู้เท่าทัน” คือเกราะป้องกันชั้นแรกของนักลงทุนยุคดิจิทัล.
วงการคริปโตในไทยอาจได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ หลัง Binance มีแนวโน้มจะถอด “เงินบาท” ออกจากระบบซื้อขายแบบ P2P ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ก.ล.ต. ไทยออกมาตรการควบคุมธุรกรรมคริปโตอย่างเข้มงวด เพื่อต่อสู้กับบัญชีม้าและการฟอกเงิน โดย Binance ยังไม่ระบุวันชัดเจน แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อพฤติกรรมนักลงทุนและภาพรวมตลาดคริปโตในประเทศ.
Trive
STARTRADER
IB
GO MARKETS
Markets.com
HFM
Trive
STARTRADER
IB
GO MARKETS
Markets.com
HFM
Trive
STARTRADER
IB
GO MARKETS
Markets.com
HFM
Trive
STARTRADER
IB
GO MARKETS
Markets.com
HFM