简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เฟดจะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อและอาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% แต่ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลง ท่ามกลางความกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร
• ควรจับตาปัจจัยความกังวลปัญหาเสถียรภาพระบบธนาคารฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึง รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ เนื่องจากความกังวลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินไม่เหมือนกัน
• เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากอัตราเงินเฟ้อ PCE ออกมาสูงกว่าคาด และผู้เล่นในตลาดคลายกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร แต่หากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้ ในกรณีที่ ความกังวลอยู่ที่ฝั่งธนาคารยุโรปมากกว่าฝั่งสหรัฐฯ (กดดันสกุลเงินฝั่งยุโรปอ่อนค่าลง) ทั้งนี้ ทองคำและเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ผู้เล่นในตลาดต้องการถือ หากตลาดปิดรับความเสี่ยง ส่วนค่าเงินบาท มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways โดยมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้น หรือ ในจังหวะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอด้วยโฟลว์ซื้อสกุลเงินต่างประเทศของบรรดาผู้นำเข้าและบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น (Japanese MNCs)
• มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ คือ 33.90-34.50 บาท/ดอลลาร์
ไฮไลต์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้มีดังนี้
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญ คือ รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อ PCE ในเดือนกุมภาพันธ์ อาจชะลอลงสู่ระดับ +0.4%m/m ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงานและราคาสินค้าโดยรวม ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อ PCE ชะลอลงสู่ระดับ 5.1% อย่างไรก็ดี หากตัดผลของราคาพลังงานและราคาอาหาร โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE จะอยู่ที่ +0.4%m/m ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ยังคงอยู่ที่ระดับ 4.7% สอดคล้องกับภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในส่วนภาคการบริการที่ไม่รวมผลของที่อยู่อาศัย (Core Services Ex. Housing) ชะลอตัวลงช้า
อย่างไรก็ดี หากอัตราเงินเฟ้อ PCE และ Core PCE ไม่ได้เร่งตัวสูงขึ้น ประกอบกับ ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อจากผลกระทบของปัญหาสภาพคล่องในระบบธนาคาร ก็จะช่วยลดความจำเป็นที่เฟดจะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจนทะลุระดับ 5.25% แต่ทว่า เฟดอาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% จนกว่าเฟดจะมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มกลับสู่เป้าหมาย 2% อย่างชัดเจน ซึ่งเรามองว่า ภาพดังกล่าวอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวลงมากขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะการจ้างงาน ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด หลังผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยและเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
2. ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Ifo Business Climate) เดือนมีนาคม ซึ่งตลาดคาดว่า ดัชนีอาจปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 91 จุด กดดันโดยแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงภาวะเงินเฟ้อสูง และล่าสุด ความกังวลต่อเสถียรภาพของระบบธนาคาร นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลาง ว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนแตะจุดสูงสุด (Terminal Rate) ณ ระดับใด
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดจะรอจับตา การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือน อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ว่าจะสามารถคงโมเมนตัมขยายตัวราว +13%y/y ได้หรือไม่ เช่นเดียวกันกับฝั่งญี่ปุ่น ตลาดมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยหนุนให้ยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น +5.8%y/y ส่วนในฝั่งจีน ตลาดประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจีนก็มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง หลังการผ่อนคลายมาตรการ Zero COVID สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการเดือนมีนาคม ที่ระดับ 50.5 จุด และ 54.3 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว)
4. ฝั่งไทย – เราคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติเป็นเอกฉันท์ “ขึ้น” ดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% สู่ระดับ 1.75% พร้อมกันนั้น กนง. อาจปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการบริโภคในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติดีขึ้นจากการประชุมเดือนธันวาคม ส่วนคาดการณ์ยอดการส่งออกอาจถูกปรับลง ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะสอดคล้องกับรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในช่วงนี้ ที่ตลาดประเมินว่า ยอดการส่งออก (Exports) เดือนกุมภาพันธ์ จะยังคงหดตัว -7%y/y สอดคล้องกับภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) จะขยายตัว +2%y/y ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความต้องการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวได้ดี ทำให้ดุลการค้าอาจขาดดุลเกือบ -2 พันล้านดอลลาร์ได้
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
FP Markets
ATFX
STARTRADER
XM
FXCM
OANDA
FP Markets
ATFX
STARTRADER
XM
FXCM
OANDA
FP Markets
ATFX
STARTRADER
XM
FXCM
OANDA
FP Markets
ATFX
STARTRADER
XM
FXCM
OANDA