简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ลุ้น รายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ พร้อม จับตา PCE สหรัฐฯ และการประชุม BOJ
• ควรเตรียมรับมือความผันผวนในตลาดการเงินในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ พร้อมรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP Q1/2023 และ อัตราเงินเฟ้อ PCE) และ รายงานผลประกอบการ
• เงินดอลลาร์มีโอกาสผันผวนสูง ซึ่งหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด หรือ ตลาดปิดรับความเสี่ยงจากรายงานผลประกอบการที่แย่กว่าคาด ก็อาจหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ได้ ทว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ผลการประชุม BOJ โดยเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจแข็งค่าขึ้นได้ ถ้า BOJ มีการปรับนโยบายการเงินเซอร์ไพรส์ตลาด ส่วนค่าเงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบเดิม โดยปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าอาจมาจากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ โฟลว์ธุรกรรมปลายเดือนของผู้นำเข้า และโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ทั้งนี้ ความผันผวนอาจมาจากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติซึ่งอาจยังไม่รีบกลับเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยได้ในระยะสั้น ในเชิงเทคนิคัล ต้องจับตาว่าเงินบาทจะสามารถทรงตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน (34.30 บาทต่อดอลลาร์) ได้หรือไม่
• มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.00-34.60 บาท/ดอลลาร์
– เนื่องจากสัปดาห์นี้จะเข้าสู่ช่วง Silent Period ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ก่อนการประชุมเฟดในเดือนพฤษภาคม (วันที่ 2-3) ทำให้ผู้เล่นในตลาดจะให้ความสนใจรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ อาทิ Microsoft, Meta, Alphabet และ Amazon เป็นต้น โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ บรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ทำให้การบริโภค โดยเฉพาะในส่วนภาคการบริการยังคงขยายตัวได้ดี ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้อาจโต +2.0% จากไตรมาสก่อนหน้าเมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งก็เป็นการชะลอลงบ้าง ตามแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟดและภาวะเงินเฟ้อสูง (เศรษฐกิจโตกว่า +2.6% ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนหน้า)
อย่างไรก็ดี แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาคการบริการและการบริโภคอาจเริ่มชะลอตัวลงมากขึ้นได้ สะท้อนผ่าน ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณชะลอลง ชี้จากยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกและการว่างงานต่อเนื่อง (Initial & Continuing Jobless Claims) ที่อาจทยอยปรับตัวขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) เดือนเมษายน ก็อาจลดลงสู่ระดับ 104 จุด อนึ่ง การชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจไม่ได้ชัดเจนหรือรุนแรงนักในระยะสั้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ PCE โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ก็อาจอยู่ในระดับสูงกว่า 4.5% ทำให้เฟดยังมีความจำเป็นที่ต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ +25bps สู่ระดับ 5.00%-5.25% ในการประชุมเดือนพฤษภาคม
– ตลาดมองว่า เศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มขยายตัวราว +1.4%y/y ในไตรมาสแรกของปีนี้ หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการบริการ ในขณะที่ภาคการผลิตนั้นชะลอตัวลงชัดเจน สอดคล้องกับรายงานดัชนี PMI ในช่วงต้นปี ซึ่งภาพเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังคงขยายตัวอยู่และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เป็นอย่างมาก จะหนุนให้ ECB สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องได้ (ตลาดคาดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate อาจแตะระดับ 3.75% จากระดับ 3.00% ในปัจจุบัน) และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร/การเงิน และกลุ่ม Healthcare นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของ ECB
– ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งแรกของผู้ว่าฯ BOJ ท่านใหม่ (Kazuo Ueda) แม้เราจะคาดว่า BOJ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% พร้อมกับคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 10 ปี ญี่ปุ่น ที่ระดับ 0.00%+/-0.50% แต่ผู้เล่นในตลาดก็เริ่มคาดหวังว่า BOJ อาจมีการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ หลังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสด (Core-Core CPI) เร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 3.8% ซึ่งต้องจับตาว่า BOJ จะมีการปรับนโยบายการเงิน เช่น ปรับกรอบของบอนด์ยีลด์ 10 ปี หรือ ยกเลิกการทำ Yields Curve Control ในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ เพราะหาก BOJ ปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็อาจหนุนให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) แข็งค่าขึ้นได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนมีนาคม
– ตลาดคาดว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอาจกดดันให้ ยอดการส่งออก (Exports) เดือนมีนาคมอาจหดตัวถึง -16%y/y สอดคล้องกับการปรับตัวลงแรงของดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมีนาคม อนึ่ง ยอดการนำเข้า (Imports) ก็อาจหดตัวราว -5%y/y ตามราคาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าพลังงานที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้ดุลการค้าอาจขาดดุลราว -1 พันล้านดอลลาร์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
XM
Neex
FXCM
Exness
FOREX.com
ATFX
XM
Neex
FXCM
Exness
FOREX.com
ATFX
XM
Neex
FXCM
Exness
FOREX.com
ATFX
XM
Neex
FXCM
Exness
FOREX.com
ATFX