简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันพุธที่ 23 ส.ค. 2023
• 20.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ตัวเลขครั้งก่อน 49 ตัวเลขคาดการณ์ 48.9
• 20.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการบริการของสหรัฐฯ ตัวเลขครั้งก่อน 52.3 ตัวเลขคาดการณ์ 52.4
วันพฤหัสบดีที่ 24 ส.ค. 2023
• 19.30 น. : จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ ตัวเลขครั้งก่อน 239K ตัวเลขคาดการณ์ 241K
วันศุกร์ที่ 25 ส.ค. 2023
• 21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิชิแกน ตัวเลขครั้งก่อน 71.2 ตัวเลขคาดการณ์ 71.2
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดการเงินผันผวน
เงินดอลลาร์อาจยังไม่กลับมาอ่อนค่าลงชัดเจน ตราบใดที่ตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off)
นอกจากนี้ หากตลาดยังคงเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หรือคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น (จาก CME FedWatch Tool ล่าสุด ตลาดให้โอกาส 36% เฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อ และให้โอกาส 65% ที่เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม 2024) อาจหนุนให้ทั้งบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นต่อได้
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะ ถ้อยแถลงของประธานเฟดในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของเฟดที่เมือง Jackson Hole (ตลาดจะทยอยรับรู้ถ้อยแถลงดังกล่าวในช่วงราว 21.05 น. ของวันศุกร์ที่ 25 นี้ ตามเวลาในประเทศไทย) โดยตลาดจะรอตีความการส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินของเฟด หลังล่าสุด รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังคงออกมาดูดีและเจ้าหน้าที่เฟดบางส่วนก็ออกมาสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ จนทำให้ล่าสุดผู้เล่นในตลาดปรับเพิ่มโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อ รวมถึงโอกาสที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน ซึ่งมุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาดได้หนุนให้ทั้งบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (S&P Manufacturing & Services PMIs) เดือนสิงหาคม เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางนโยบายการเงินของเฟด โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างมองว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ อาจยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 49 จุด (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว) ในขณะที่ภาคการบริการจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องได้ แม้การขยายตัวอาจชะลอลงบ้าง ตามผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด รวมถึงเงินออมส่วนเกิน (Excess Savings) ของคนอเมริกันที่ทยอยลดลง โดยดัชนี PMI ภาคการบริการอาจลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 52 จุด
2. ฝั่งยุโรป – นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่า เศรษฐกิจยุโรปยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของยูโรโซนและอังกฤษ ในเดือนสิงหาคม ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง กดดันจากผลกระทบของการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของทั้งธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงภาพเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีน อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพเศรษฐกิจอังกฤษและยูโรโซนจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น แต่เรายังคงมองว่า อัตราเงินเฟ้อของทั้งอังกฤษและยูโรโซนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อเทียบกับเป้าหมายของธนาคารกลาง จะส่งผลให้ BOE และ ECB มีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ในปีนี้
3. ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกหนี้ชั้นดี (Loan Prime Rate) ของธนาคารกลางจีน (PBOC) หลังจากสัปดาห์ก่อนหน้า PBOC ได้เซอร์ไพร์สตลาดด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย MLF -15bps สู่ระดับ 2.50% ท่ามกลางรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนที่ออกมาแย่กว่าคาด โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างมองว่า PBOC อาจปรับลด LPR ประเภท 1 ปี และ 5 ปี เพื่อช่วยพยุงการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตลาดอสังหาฯ จีนที่ยังคงซบเซา อาจเพิ่มโอกาสที่ PBOC อาจลด LPR ประเภท 5 ปี ลงมากกว่า -15bps
อย่างไรก็ดี ในส่วนนโยบายการเงินของธนาคารกลางอื่นๆ ตลาดมองว่า ทั้งธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) และ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50% และ 5.75% ตามลำดับ หลังอัตราเงินเฟ้อของทั้งสองประเทศมีแนวโน้มชะลอลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของธนาคารกลาง อนึ่ง ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะรอจับตารายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม โดยนักวิเคราะห์มองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งจะสะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการบริการ ขณะที่ภาคการผลิตอาจยังคงหดตัว ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะจีน ที่ยังมีปัญหาสินค้าคงคลัง (Inventory) อยู่ในระดับสูง
4. ฝั่งไทย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การโหวตเลือกนายกฯ วันที่ 22 สิงหาคมนี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติและความผันผวนของเงินบาทได้อย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์ต่างมองว่า เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัว ในไตรมาสที่ 2 หนุนโดยการฟื้นตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยว ขณะที่ปัจจัยกดดันอาจมาจากการค้าระหว่างประเทศที่ซบเซา รวมถึงการลงทุนที่อาจชะลอลงมากขึ้นจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมือง
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น