简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันอังคารที่ 29 ส.ค. 2023
•21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (CB Consumer Confidence)
ตัวเลขครั้งก่อน 117.0 ตัวเลขคาดการณ์ 116.2
•21.00 น. : ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่สหรัฐฯ (JOLTS Job Openings)
ตัวเลขครั้งก่อน 9.58M ตัวเลขคาดการณ์ 9.70M
วันพุธที่ 30 ส.ค. 2023
• 19.15 น. : การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ (ADP Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 324K ตัวเลขคาดการณ์ 201K
•19.30 น. : ดัชนี GDP สหรัฐฯ (Prelim GDP q/q)
ตัวเลขครั้งก่อน 2.4% ตัวเลขคาดการณ์ 2.4%
วันพฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2023
• 19.30 น. : ดัชนีราคาผู้บริโภคส่วนบุคคลสหรัฐฯ (Core PCE Price Index m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.2% ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
วันศุกร์ที่ 1 ก.ย. 2023
• 19.30 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ (Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 187K ตัวเลขคาดการณ์ 169K
• 21.00 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM Manufacturing PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 46.4 ตัวเลขคาดการณ์ 46.9
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อ หลังผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสที่เฟดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงจนถึงไตรมาส 2 ปีหน้า
เงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อ หลังผู้เล่นในตลาดยังคงเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน แนวโน้มเงินดอลลาร์อาจขึ้นกับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด รวมถึงบรรยากาศในตลาดการเงิน
หากบรรยากาศในตลาดการเงินยังไม่กลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง เงินดอลลาร์ก็อาจยังคงแกว่งตัว sideway หรือ แข็งค่าขึ้นได้ ในกรณีที่ตลาดปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น และที่สำคัญ ต้องจับตาการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ตลาดให้โอกาสราว 56% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อ ซึ่งหากโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อ รวมถึงโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง เพิ่มขึ้นอีก ก็อาจหนุนให้เงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้น พร้อมกับบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ได้
• ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) หลังถ้อยแถลงของประธานเฟดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของเฟดที่ Jackson Hole ยังคงส่งสัญญาณว่า เฟดพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หากจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าเฟดสามารถคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ ซึ่งเรามองว่า หนึ่งในปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด คือ ภาวะตลาดแรงงานที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยสำหรับข้อมูลตลาดแรงงานในเดือนสิงหาคมนั้น นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) อาจเพิ่มขึ้น 168,000 ราย ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) ก็อาจชะลอลงสู่ระดับ +0.3%m/m หรือ +4.3%y/y ขณะที่อัตราการว่างงานอาจทรงตัวที่ระดับ 3.5% เรามองว่า หากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาตามที่นักวิเคราะห์ประเมิน อาจไม่ได้หนุนให้เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แต่อาจทำให้เฟดสามารถคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน จนกว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงมากขึ้น
• ฝั่งยุโรป – เราคงมุมมองเดิมว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอีก +25bps สู่ระดับ 4.00% สำหรับ Deposit Facility Rate โดยเฉพาะหาก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ของยูโรโซน ในเดือนสิงหาคม ยังคงอยู่ที่ระดับ 5.3% ตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเรามั่นใจในมุมมองดังกล่าวมากขึ้น หลังถ้อยแถลงของประธาน ECB และเจ้าหน้าที่ ECB ส่วนใหญ่ ในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของเฟดที่ Jackson Hole ยังคงส่งสัญญาณสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงก็ตาม
• ฝั่งเอเชีย – ภาพรวมเศรษฐกิจจีนจะยังคงซบเซาต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือนสิงหาคม ที่อาจลดลงสู่ระดับ 49 จุด และ 50.9 จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวจะยิ่งชี้ว่า ทางการจีนจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงหนัก ทั้งนี้ หากรายงานดัชนี PMI ออกมาย่ำแย่กว่าที่ตลาดคาด จะยิ่งกดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าลงต่อได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสกุลเงินเอเชียได้เช่นกัน ทางฝั่งญี่ปุ่น แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจอาจยังดูสดใส หนุนโดยการฟื้นตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันภาคการผลิตในส่วนยานยนต์ก็เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น หลังปัญหาด้าน Supply-Chain ได้คลี่คลายลง
• ฝั่งไทย – ภาคการผลิตของไทยอาจชะลอตัวลงมากขึ้น ท่ามกลางความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนสิงหาคมอาจลดลงสู่ระดับ 50 จุด สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) เดือนสิงหาคม ที่อาจลดลงสู่ระดับ 48.8 จุด ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่มีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจอาจฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนกันยายน หลังการจัดตั้งรัฐบาลผสมเสร็จสิ้นลง
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
FP Markets
FXTM
OANDA
FOREX.com
XM
FBS
FP Markets
FXTM
OANDA
FOREX.com
XM
FBS
FP Markets
FXTM
OANDA
FOREX.com
XM
FBS
FP Markets
FXTM
OANDA
FOREX.com
XM
FBS