简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:Money Management หรือ MM คืออะไร? การบริหารจัดการเงินให้เป็นระบบระเบียบ รวมถึงการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการลงทุนได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ในการลงทุนไม่ว่าจะลงทุนทุกชนิด เราต้องทำความรู้จักว่าสิ่งที่เราจะลงทุนว่าคืออะไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง และเมื่อได้ทราบข้อมูลแล้ว ส่วนต่อมาคือการบริหารจัดการเงินหรือ Money Management (MM) เราจะสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรอบคอบ
นอกจากทักษะการดูกราฟ เทคนิคการเทรด หรือการติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา เส้นทางการเป็นเทรดเดอร์ที่ดี และประสบความสําเร็จได้ การบริหารจัดการเงินให้เป็นระบบระเบียบก็สำคัญมาก แอดเหยี่ยวบอกเลยว่า Money Management เป็นทักษะที่นักเทรดต้องมี ทั้งมือใหม่ที่กำลังฝึกฝน และนักเทรดที่กำลังเจอกับปัญหาการบริหารจัดการเงิน มาอ่านทำความเข้าใจได้เลยในบทความนี้
Money Management หรือ MM คืออะไร?
การบริหารจัดการเงินให้เป็นระบบระเบียบ รวมถึงการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการลงทุนได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ในการลงทุนไม่ว่าจะลงทุนทุกชนิด เราต้องทำความรู้จักว่าสิ่งที่เราจะลงทุนว่าคืออะไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง และเมื่อได้ทราบข้อมูลแล้ว ส่วนต่อมาคือการบริหารจัดการเงินหรือ Money Management (MM) เราจะสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรอบคอบ มีการคำนวณถึงความเสี่ยงสูงสุดที่สามารถรับได้ และต้องมีวินัยกับตัวเองสูง และความสามารถทำกำไรออกมาได้มากที่สุด โดยรวมคือการบริหารจัดการเงินให้พอร์ตสามารถดำเนินต่อไปได้โดยที่มีผลกำไรแบบยั่งยืน เนื่องจากมีการแผนจัดการความเสี่ยงแบบเป็นระบบ จะทำให้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
หากลงทุนโดยไม่มี Money Management เราก็ยังได้กำไร แต่ก็อาจจะไม่เสมอไป เพราะทุกการลงทุนต้องเจอความเสี่ยงเสมอ แล้วยิ่งไม่ได้แบ่งสัดส่วนการลงทุน กับความเสี่ยงสูงสุดที่รับได้อย่างชัดเจน อาจจะพลั้งมือลงไปและพอร์ตแตกในท้ายที่สุด เราลองมาดูกันหน่อย ว่าเราอาจจะเจอความเสี่ยงอะไรบ้าง?
Market Risk ความเสี่ยงตลาด
คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากราคาหรือผลตอบแทนปรับขึ้น-ลง เนื่องจากปัจจัยไม่ว่าจะภายในหรือภายนอก เช่น การปรับตัวของค่าเงิน, เรื่องการเมือง หรือการปรับนโยบายทางการเงิน ฯลฯ
Leverage Risk ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย
คือ ความเสี่ยงที่จะมีการปรับตัวขึ้นหรือลดลง ของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลให้ตราสารหนี้ต่างมีมูลค่าที่ถือครองมีการเปลี่ยนแปลง
Liquidity Risk ความเสี่ยงสภาพคล่อง
คือ ความเสี่ยงที่เมื่อนักลงทุนต้องการที่จะขายตราสารต่าง ๆ แต่ไม่สามารถขายได้ หรือขายได้แต่ดันไม่ได้ราคาที่ต้องการหรือที่กำหนดไว้
Money Management ทำอย่างไร?
กลยุทธ์ที่ใช้กันบ่อยและเป็นกลยุทธ์พื้นฐานคือการคำนวณ Lot Size และยังมีวิธีการถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงหุ้นแต่ละตัวเพื่อให้ทราบว่าหุ้นตัวไหนมีความเสี่ยงน้อยและมาก ให้นักลงทุนสามารถวางแผน จัดสรรเงินลงทุนแต่ละตัวด้วยจำนวนเงินที่เหมาะสม
วิธีคำนวณ Money Management
วิธีการคำนวณ Lot Size เป็นวิธีที่ Classic และใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่อยู่ในความเสี่ยงที่รับได้ โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้
Lot Size = (Account Size * Risk%) / (Stop Loss in Pips * Pip Value)
โดยที่ Account Size คือ จำนวนเงินที่ลงทุน
Risk% คือ เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่รับได้ในการลงทุนนั้น
Stop Loss in Pips คือ จำนวน Pip ที่ต้องการให้ Stop Loss
Pip คือ หน่วยของจำนวนการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น, ราคาค่าเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ
แอดเหยี่ยวมีทางลัด สำหรับคนที่คำนวณไม่เก่ง ไปค้นหาใน Google ได้ จะมีเว็บไซต์ที่ทำสูตรสำเร็จรูปให้แล้ว ไปกรอกข้อมูล ก็จะได้จำนวน Lot Size ที่ต้องการ ให้อยู่ในความเสี่ยงที่เรารับได้นะครับ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก uhas
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินในลงทุน
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
Vantage
EC Markets
STARTRADER
FP Markets
FBS
IC Markets Global
Vantage
EC Markets
STARTRADER
FP Markets
FBS
IC Markets Global
Vantage
EC Markets
STARTRADER
FP Markets
FBS
IC Markets Global
Vantage
EC Markets
STARTRADER
FP Markets
FBS
IC Markets Global