简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจ การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ใช้การวิเคราะห์กราฟราคาและรูปแบบราคา
สวัสดีครับนักเทรดทุกท่าน! วันนี้แอดเหยี่ยวจะพาไปทำความรู้จักกับ 2 กลยุทธ์เทรดพื้นฐานที่ทุกคนต้องรู้ เพื่อการวิเคราะห์แนวโน้มของการซื้อขาย ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือระยะยาว และกลยุทธ์เหล่านี้ยังเป็นที่นิยมใช้ในตลาด Forex และสินทรัพย์ CFD อื่น ๆ อีกด้วย ในการเทรด เรามีวิธีการวิเคราะห์หลัก ๆ อยู่สองแบบ คือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และ การวิเคราะห์ทางเทคนิค แล้วสองแบบนี้แตกต่างกันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ
.
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์เศรษฐกิจและเหตุการณ์บ้านเมืองที่ส่งผลต่อค่าสกุลเงิน เช่น GDP ของประเทศ ระดับการว่างงาน หรือภาวะการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์นี้จะถูกเรียกว่า “นักเทรดสายข่าว” เพราะต้องคอยอัปเดตข้อมูลตลอดเวลา
ตัวอย่าง: การวิเคราะห์ค่าเงิน EUR/USD
ภาวะเศรษฐกิจของยูโรโซนและสหรัฐอเมริกา: ถ้า GDP ของยูโรโซนเติบโตดีขึ้นเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ค่าเงินยูโรอาจจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน หาก GDP ของสหรัฐฯ เติบโตดีขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็อาจจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร
นโยบายของธนาคารกลาง: ถ้าธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เพราะนักลงทุนจะมองเห็นโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ถ้าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจจะอ่อนค่าลง เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนในสหรัฐฯ ลดลง
เหตุการณ์การเมืองและสังคม: ถ้ามีเหตุการณ์การเมืองที่มั่นคงในยูโรโซน ค่าเงินยูโรอาจจะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของยูโรโซน ในทางตรงกันข้าม หากมีเหตุการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนในสหรัฐฯ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจจะอ่อนค่าลง
จุดเด่น
ข้อมูลในวงกว้าง: เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาว ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจและการเงินต่าง ๆ เพื่อดูแนวโน้มตลาด
การประเมินอย่างละเอียด: วิเคราะห์เชิงลึกจากหลายแหล่งข้อมูล ทำให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของสินทรัพย์
จัดการความเสี่ยงได้ดี: การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานช่วยในการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
จุดด้อย
ซับซ้อนและใช้เวลานาน: ต้องศึกษาและเข้าถึงข้อมูลตลาดที่เชื่อถือได้
ขึ้นอยู่กับทักษะของเทรดเดอร์: ต้องเข้าใจพื้นฐานการเทรดเป็นอย่างดี
ข้อจำกัดในการใช้งาน: ไม่เหมาะสำหรับสินทรัพย์บางประเภท เช่น commodities และ cryptocurrencies
ไม่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้น: การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่สนใจความผันผวนระยะสั้น
.
การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) คือ
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการดูกราฟและรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตเพื่อคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต ใช้ได้ทั้งตลาดหุ้น ทองคำ Forex คริปโทเคอร์เรนซี และอื่น ๆ
เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้แก่
1.กราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern) ใช้วิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา พิจารณาที่บริเวณ “แนวรับ-แนวต้าน” เทรดเดอร์สามารถเห็น ราคาเปิด, ปิด, ราคาสูงสุด และต่ำสุดจากแท่งเทียน
2.กราฟราคา (Chart Pattern) ดูจากชุดของแท่งเทียนที่รวมกันในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ วิธีนี้ช่วยในการระบุทิศทางแนวโน้มของราคาที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงนั้น ๆ
3.เทคนิค Fibonacci Retracement ใช้เพื่อดูทิศทางของกราฟราคา หาราคาเป้าหมายและจุดที่ราคาพักตัว
4.ใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) เช่น Moving Average ปริมาณการซื้อขาย (Volume) หรือ เครื่องมืออย่าง RSI, Stochastic เป็นต้น
ตัวอย่าง: การวิเคราะห์กราฟ EUR/USD
กราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern)
หากพบรูปแบบ Bullish Engulfing ในกราฟรายวันของ EUR/USD ซึ่งประกอบด้วยแท่งเทียนสีแดงตามด้วยแท่งเทียนสีเขียวที่ครอบคลุมทั้งแท่งเทียนแดง นี่อาจเป็นสัญญาณว่าราคามีแนวโน้มจะกลับตัวขึ้น
กราฟราคา (Chart Pattern)
หากเห็นรูปแบบ Head and Shoulders ในกราฟรายวันของ EUR/USD โดยมีหัวและไหล่ชัดเจน นี่อาจเป็นสัญญาณว่าราคามีแนวโน้มจะกลับตัวลง
Fibonacci Retracement
หากราคาของ EUR/USD ลดลงจากจุดสูงสุดและฟื้นตัวขึ้นมาใกล้ระดับ 61.8% ของ Fibonacci Retracement นี่อาจเป็นจุดที่ราคาพักตัวและอาจจะกลับตัวลงอีกครั้ง
อินดิเคเตอร์ (Indicator)
หากใช้ Moving Average Crossover โดยเฉพาะค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันตัดขึ้นผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน นี่อาจเป็นสัญญาณซื้อที่แสดงถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น
จุดเด่น
เห็นภาพรวมตลาดรวดเร็ว: คาดเดาจุดซื้อขายได้ชัดเจน
บริหารความเสี่ยงได้ดี: ใช้เครื่องมือจัดการความเสี่ยงร่วมกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้
จุดด้อย
ต้องอาศัยประสบการณ์: ต้องฝึกฝนการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ อย่างชำนาญ
.
ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจ
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ใช้การวิเคราะห์กราฟราคาและรูปแบบราคา
สุดท้ายนี้ แอดเหยี่ยวอยากฝากไว้ว่าในโลกของการเทรดที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งล้วนต้องอาศัยการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเข้าใจและประสบการณ์ของนักเทรดเอง การวิเคราะห์ทั้งสองเทคนิคสามารถใช้ร่วมกันได้ เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับนักเทรดมือใหม่ แนะนำให้ศึกษาทั้งสองวิธีเพื่อค้นหาความถนัดของตัวเองหรือปรับใช้ด้วยกันให้เหมาะสมกับการเทรดของคุณนะครับ
.
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก STARTRADER
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เมื่อเทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามา WikiFX ขอส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจถึงคุณ ด้วยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากคุณในเส้นทางการลงทุน WikiFX มุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลฟอเร็กซ์ที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
อาการทนแดงและไม่ทนฟ้าเกิดจาก “ความโลภ” และ “ความกลัว” ซึ่งเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเผชิญ การแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยวินัย ความรู้ และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากคุณสามารถวางแผนการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการความเสี่ยงได้ดี และควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ คุณจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ให้เป็นโอกาสในการทำกำไรในตลาด Forex ได้อย่างยั่งยืน
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้