简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:แนวคิดการบริหารเงินส่วนบุคคลในภาพรวมกันก่อนว่าเราจะบริหารเงินไปเพื่ออะไร จะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใด และการบริหารเงินนี้จะได้ผลจริงหรือไม่
วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความที่เหมือนจะธรรมดา แต่บอกเลยสำคัญอย่างมาก ถ้าหากนักเทรดอยากจะเป็นคนที่ไม่มีวิกฤติทางการเงิน เพราะต่อให้เราเทรดจนได้กำไรมามากมายแต่จัดการไม่เป็น เงินนั้นก็อาจจะเป็นศูนย์ได้ในไม่ช้า แอดเหยี่ยวจึงอยากให้ทุกคนได้รู้จัก การบริหารการเงินส่วนบุคคลเป็นอีกหนึ่งแนวทางการบริหารเงินที่“คนบริหารเงินเป็น”เขาทำกัน แนวทางนี้ง่ายกว่าที่คิดนะครับไปเริ่มกันเลยดีกว่า
.
การบริหารการเงินส่วนบุคคลคืออะไรก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่าการบริหารการเงินส่วนบุคคลคืออะไร หากพูดอย่างง่าย ๆ ก็คือการจัดการการเงินของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการจัดการคือการหาเงินเข้ามาและใช้จ่ายอย่างเหมาะสม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการบริหารรายรับและรายจ่ายนั่นเอง
แนวคิดการบริหารการเงินส่วนบุคคลเรามาดูแนวคิดการบริหารเงินส่วนบุคคลในภาพรวมกันก่อนว่าเราจะบริหารเงินไปเพื่ออะไร จะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใด และการบริหารเงินนี้จะได้ผลจริงหรือไม่
1.บริหารการเงินไว้มั่นใจไม่เสี่ยง
ชีวิตของเรามีความเสี่ยงมากมายที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หากเราไม่คำนึงถึงจุดนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็อาจทำให้เกิดปัญหาการเงินทันที นี่เป็นเหตุผลที่เราต้องบริหารการเงินส่วนบุคคล เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น การถูกเลิกจ้างโดยไม่ทันตั้งตัว หรือการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
การบริหารการเงินที่หลายคนทำกันคือการกันเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามจำเป็นหรือเมื่อเกิดความเสี่ยงที่ยากจะคาดเดาได้ บางคนเลือกบริหารการเงินด้วยการทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันการว่างงาน ซึ่งเป็นวิธีที่รอบคอบและช่วยให้มั่นใจได้ในระดับหนึ่ง
2.บริหารการเงินบริหารชีวิต
หากพูดว่าเงินคือชีวิตและชีวิตคือเงินก็คงไม่ผิดนัก เพราะทุกชีวิตย่อมเกี่ยวข้องกับเงิน ในปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่การแลกเปลี่ยนใช้เงินเป็นตัวกำหนด เมื่อทำงานและได้รับเงินมา จึงต้องบริหารให้ดีเพื่อให้ชีวิตมั่นคง
หลักการบริหารการเงินที่สำคัญคือการไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่มี การหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ และการจัดการอื่น ๆ คุณสามารถทราบรายได้ที่มีอยู่และวางแผนการใช้จ่าย รวมถึงการออมเงินได้ โดยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณมีข้อมูลที่เป็นจริงในการบริหารการเงินของตนเอง
3.บริหารการเงินกับการลงทุน
ต้องยอมรับว่าการลงทุนสามารถนำมาซึ่งความมั่งคั่ง การบริหารเงินส่วนนี้จะช่วยให้คุณมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น เมื่อมีเงินออมเพียงพอ ควรนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น การลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่น กองทุน พันธบัตรรัฐบาล อสังหาริมทรัพย์ และหุ้น เป็นต้น
คุณสามารถหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนได้ง่าย ๆ จากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือจากข้อมูลที่เชื่อถือได้บนอินเตอร์เน็ต ในระยะแรกของการลงทุน ควรเริ่มจากเงินจำนวนน้อยเพื่อซึมซับความเข้าใจและวิธีการ เมื่อมีประสบการณ์และความเข้าใจมากขึ้น จึงค่อยพิจารณาลงทุนเพิ่ม
4.รักษาระดับความมั่งคั่ง
เมื่อคุณลงทุนจนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจแล้ว อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ ควรรักษาระดับความมั่งคั่งให้อยู่ไปนาน ๆ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การหาที่ปรึกษาทางการเงินมาช่วยดูแล หรือการทำประกันอัคคีภัยสำหรับสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ การบริหารการเงินส่วนบุคคลที่ดีประกอบด้วยการวางแผนการใช้จ่าย การออมเงิน และการลงทุน ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกว่าชีวิตอยู่ในการควบคุมและมั่นคงปลอดภัย
หากคุณยังไม่เคยบริหารการเงินมาก่อน สามารถเริ่มต้นได้ทันที แล้วลองประเมินผลดูว่าการวางแผนการเงินแตกต่างจากการไม่วางแผนอย่างไร
.
ขั้นตอนง่าย ๆ ในการวางแผนการเงิน
เริ่มจากการกำหนดเป้าหมายทางการเงินว่าต้องการใช้เงินเพื่ออะไร และใช้เวลานานเท่าไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย เช่น ต้องการมีเงินใช้ในยามเกษียณเดือนละเท่าไรเพื่อให้รู้สึกมั่นคง เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้วก็ลงมือทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้
รวบรวมข้อมูลทางการเงินทั้งหมดที่มีอยู่ ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้สำคัญต่อการวางแผนทางการเงิน เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร กรมธรรม์ประกันชีวิต โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถ สัญญาการกู้ยืมเงิน เอกสารการลงทุน สิ่งเหล่านี้ควรรวบรวมไว้เพื่อใช้ในการวางแผนทางการเงิน
นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อดูสถานะทางการเงินปัจจุบันว่าบรรลุเป้าหมายแล้วหรือยัง มีส่วนที่ยังขาดเหลือตรงไหนบ้าง เพื่อหาวิธีเพิ่มเติม
จัดทำแผนการเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการหารายได้หรือแหล่งเงินทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงิน
นำแผนทางการเงินที่ได้ไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการลงมือทำ โดยสามารถประเมินผลเป็นระยะ ๆ ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่
หากยังไม่เป็นไปตามแผน ก็ปรับแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ หลังจากปฏิบัติตามแผนไปได้สักระยะหนึ่ง ให้ประเมินผลดูว่ามีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่ก็ปรับแผนให้สอดคล้อง เพื่อให้ปฏิบัติได้ตามแผนทางการเงินที่วางไว้
การวางแผนทางการเงินมีความสำคัญช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงิน ในระหว่างทางเราสามารถทบทวนและปรับปรุงแผนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ขอบคุณข้อมูลจาก MoneyHub
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
อาการทนแดงและไม่ทนฟ้าเกิดจาก “ความโลภ” และ “ความกลัว” ซึ่งเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเผชิญ การแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยวินัย ความรู้ และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากคุณสามารถวางแผนการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการความเสี่ยงได้ดี และควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ คุณจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ให้เป็นโอกาสในการทำกำไรในตลาด Forex ได้อย่างยั่งยืน
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
ตลาด Forex กับ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ นั้นเหมือนหรือต่างกันยังไง?
แอดเชื่อว่าถ้าคุณทำตามความท้าทาย 30 วันนี้แบบจริงจัง คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองแน่นอน ทั้งในแง่ของทักษะการเทรดและความมั่นใจ อย่าลืมว่าการเทรดไม่ใช่แค่เรื่องของกำไร แต่คือการเดินทางที่คุณได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เอาล่ะ นักเทรดพร้อมไหม?
FXTM
FP Markets
Doo Prime
FXCM
XM
VT Markets
FXTM
FP Markets
Doo Prime
FXCM
XM
VT Markets
FXTM
FP Markets
Doo Prime
FXCM
XM
VT Markets
FXTM
FP Markets
Doo Prime
FXCM
XM
VT Markets