简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:VPN ไม่ได้ช่วยเสมอไป! แม้หลายคนคิดว่าใช้ VPN เข้าเว็บเทรดที่ถูกแบนได้เหมือนเดิม แต่หากฝืนล็อกอินหลังวันที่ 28 มิ.ย. 2568 อาจเข้าข่ายละเมิดคำสั่ง ก.ล.ต. และเสี่ยงผิดกฎหมาย หากเกิดปัญหา เช่น เงินหาย เว็บปิด หรือถูกโกง รัฐจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ใครยังลงทุนคริปโต ควรเช็กให้แน่ใจว่าใช้แพลตฟอร์มที่ได้รับอนุญาตจริง ไม่เช่นนั้นความเสี่ยงอาจสูงเกินจะรับไหว
หลายคนอาจกำลังคิดว่า “เว็บโดนบล็อกไม่เห็นเป็นไร แค่เปิด VPN ก็เข้าได้เหมือนเดิม” แต่เดี๋ยวก่อน แอดเหยี่ยวขอเบรกไว้ก่อนจะเผลอกด Login เข้าเว็บ 1000X, Bybit, CoinEx, OKX หรือแพลตฟอร์มที่โดน ก.ล.ต. สั่งปิด!
เพราะแม้ว่า VPN จะไม่ผิดกฎหมายในตัวมันเอง แต่ถ้าคุณใช้มันเพื่อ “เข้าใช้งานเว็บที่ถูกสั่งห้ามโดยตรง” แบบฝืนมาตรการของรัฐ นั่นแหละที่อาจเข้าข่ายผิดได้แบบไม่รู้ตัว!
ทำไมถึงเสี่ยง?
แปลว่าอะไร?ถ้าเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้น เช่น แพลตฟอร์มปิดตัว ถอนเงินไม่ได้ หรือโดนโกง…คุณจะ ไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องหรือเรียกร้องใด ๆ จากภาครัฐได้เลย
และที่อันตรายกว่านั้นคือ…หากทางรัฐมองว่าคุณ “จงใจหลีกเลี่ยงการบล็อก” อาจมีผลทางกฎหมายตามมาแบบเต็ม ๆไม่คุ้มเสี่ยงแน่นอน
สรุปให้:
แอดเหยี่ยวเตือนจริง ๆ ไม่ได้ขู่
ใครที่ยังอยากลงทุนในคริปโต อย่าลืมเช็กชื่อเว็บเทรดให้ชัวร์ว่า “ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.” หรือยัง
ไม่อย่างนั้น เงินหายขึ้นมา ต่อให้เหยี่ยวบินตามหายังไง… ก็ช่วยไม่ได้จริง ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก siamblockchain
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ในยุคที่มิจฉาชีพทางการเงินสวมคราบมืออาชีพ ความโลภและความหวังกลายเป็นช่องโหว่ให้คนฉลาดยังตกเป็นเหยื่อ รูปแบบหลอกลวงหลากหลาย ตั้งแต่แชร์ลูกโซ่ แพลตฟอร์มปลอม จนถึงการใช้ชื่อคนดัง การมีภูมิคุ้มกันทางการเงินและสติ คือเกราะป้องกันที่ดีที่สุด เพราะโจรมักเร่งให้ตัดสินใจก่อนคิดเสมอ
ปลายเดือนมิถุนายน 2568 นักลงทุนคริปโตถูกปล้นเงินสดกว่า 3.4 ล้านบาทกลางลานจอดรถห้างดังย่านลาดพร้าว ขณะทำธุรกรรมซื้อขายเหรียญดิจิทัลกับกลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดในการก่อเหตุ ผู้เสียหายได้นัดหมายซื้อขายล่วงหน้า ก่อนถูกบุกปล้นและหลบหนีโดยรถยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสืบสวน พบมีการวางแผนล่วงหน้า เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงสูงของการทำธุรกรรมนอกระบบและถือเงินสดจำนวนมากในตลาดคริปโต
Trezor เตือนผู้ใช้งานทั่วโลกถึงแคมเปญฟิชชิ่งที่แอบอ้างเป็นทีมซัพพอร์ต เพื่อหลอกขอข้อมูลสำคัญอย่าง seed phrase โดยใช้ฟอร์มติดต่อบนเว็บไซต์หลอกระบบส่งอีเมลอัตโนมัติ Trezor ย้ำว่าไม่มีนโยบายขอข้อมูลสำรองใด ๆ และระบบยังปลอดภัย ขณะเดียวกัน การโจมตีแบบ spear phishing ในวงการคริปโตยังเกิดถี่ขึ้น วิธีป้องกันคือไม่เปิดเผย seed phrase และตรวจสอบแหล่งที่มาของอีเมลทุกครั้ง.
Tether ผู้ออกเหรียญ Stablecoin เดินหน้ามาตรการปราบปรามการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลในทางที่ผิด อายัดเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 12.3 ล้านดอลลาร์ บนเครือข่าย Tron