简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:Robinhood เปิดตัวโทเคนหุ้นอ้างอิงบริษัทดังอย่าง OpenAI และ SpaceX แม้หุ้นยังไม่ IPO จุดกระแส Tokenization แต่กลับถูกตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใส เมื่อพบว่าโทเคนเหล่านั้นอาจไม่ใช่หุ้นจริง ไม่ได้ให้สิทธิ์ผู้ถือ และอาจเป็นเพียงตราสารอนุพันธ์บนบล็อกเชน ด้าน OpenAI ปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ตลาดเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า “นี่คือการลงทุนจริง หรือแค่ภาพลวงตา” บทเรียนสำคัญสำหรับนักลงทุนยุคใหม่: อย่ามองแค่ชื่อแบรนด์ ต้องตรวจสอบเบื้องหลังว่า "ถืออะไรอยู่จริง"
ช่วงนี้ใครเทรดสายคริปโตหรือตามเทรนด์ Tokenization คงเคยได้ยินว่า Robinhood แพลตฟอร์มเทรดยอดฮิตของสาย Retails ฝั่งอเมริกา เปิดตัว “โทเคนแปลงหุ้น” เอาใจนักลงทุนที่อยากเข้าถึงหุ้นระดับโลกอย่าง OpenAI หรือ SpaceX แม้หุ้นยังไม่เข้า IPO แต่กลายเป็นว่า... ไม่ทันถึงรอบปันผล ก็ถูก “สอบ” เสียก่อน
โดนจ้อง! หน่วยงานยุโรปตั้งคำถามหนัก: โทเคนหุ้น = หุ้นจริง หรือแค่ IOU แบบ DeFi?
ข่าวล่ามาแรงจากฝั่งยุโรป ระบุว่า ธนาคารกลางลิทัวเนีย ออกมาเตือนว่า โทเคนที่ Robinhoodนำเสนอว่าแปลงมาจาก “หุ้นบริษัทดัง” อาจไม่ได้ถือสิทธิในหุ้นจริง แต่เป็นเพียง ตราสารอนุพันธ์ (derivatives) ที่ “อ้างอิง” กับราคาหุ้นเท่านั้น!
พูดง่าย ๆ คือ คนซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น ไม่ได้มีสิทธิ์ออกเสียง หรือรับปันผลจริง ๆ เหมือนซื้อ CFD แต่คราวนี้อยู่บนบล็อกเชน
ประเด็นร้อน OpenAI ออกตัวแรง “ไม่เกี่ยวข้องกับ Robinhood ใด ๆ ทั้งสิ้น”
หลังมีข่าวว่า OpenAI และ SpaceX เป็นหนึ่งในบริษัทที่ Robinhood เสนอขาย “โทเคนหุ้น” อ้างอิงถึง บริษัท OpenAI รีบออกมา “เทขายข่าว” ทันที โดยระบุว่า ไม่เคยเป็นพาร์ตเนอร์กับ Robinhood และ โทเคนเหล่านั้นไม่ได้เป็นตัวแทนหุ้นของบริษัทจริง
นี่ทำให้โลกการเงินทั้ง TradFi และ DeFi ตั้งคำถามว่า... สิ่งที่ Robinhoodทำอยู่มันคือ “การลงทุน” หรือ “การจำลองความรู้สึกของการลงทุน”?
วิเคราะห์สไตล์ Tokenization = Mega Trend ที่ใครก็อยากครอง แต่ “ไม่ใช่ทุกคนเล่นได้แบบไม่เจ็บ”
การเอาหุ้นมาทำเป็นโทเคนบนบล็อกเชนเป็นเทรนด์จริง – แอดเหยี่ยวมองว่าแนวคิดนี้ถ้าทำโปร่งใส มีสินทรัพย์รองรับจริง มีการกำกับชัดเจน จะเป็นเกมเปลี่ยนโลกได้ไม่แพ้ ETF สมัยก่อน
แต่ตอนนี้ Robinhood เดินเกมไวเกินไป ข้ามขั้นจาก “สร้างแพลตฟอร์ม” ไปสู่ “เปิดขาย” โดยยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่า
บทเรียนของเทรดเดอร์
“ในยุคที่ทุกอย่างแปลงเป็นโทเคนได้ ความจริงกับภาพลวงตามักอยู่ห่างกันแค่ Smart Contract หนึ่งบรรทัด”
อย่าซื้อเพราะคำว่า OpenAI หรือ SpaceX มาล่อ
แต่ให้ดูว่าเบื้องหลังมันคือ “หุ้น” หรือ “แค่ชื่อหุ้นในรูปโทเคน”
การเทรดในโลกใหม่ต้องไม่ใช่แค่ “ลุ้นราคา”
แต่ต้อง “ลึก” ทั้งเรื่องสิทธิ ความโปร่งใส และเบื้องหลังของเครื่องมือที่ใช้
สรุป
เพราะในโลกโทเคน... ใครไม่เช็คหลังบ้าน อาจเป็นคนโดน “ล้างพอร์ต” โดยไม่รู้ตัว!
ขอบคุณข้อมูลจาก siamblockchain
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Ricardo Salinas มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของเม็กซิโก ออกโรงเตือนถึงภัยจาก ระบบเงินเฟียต (Fiat money) ที่ไม่มีอะไรค้ำประกัน พร้อมประกาศชัดว่า Bitcoin และทองคำ คือทางรอดของความมั่งคั่งในยุคเศรษฐกิจเปราะบาง “บ้านสร้างเพิ่มได้…แต่ Bitcoin มีจำกัด” Salinas มองว่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ที่เก็บมูลค่าอีกต่อไป เพราะถูกเงินเฟ้อกัดกิน ขณะที่ Bitcoin เป็น “Hard money” ที่ไม่มีใครควบคุมได้ และพกพาได้ไร้พรมแดน เขายังจี้ให้พิจารณารีไฟแนนซ์บ้าน แล้วเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต้านเงินเฟ้อแทน พร้อมวิจารณ์แรงว่า…“เงินเฟียตคือเครื่องมือขโมยความมั่งคั่งของประชาชน”
Megaland แพลตฟอร์ม NFT สัญชาติไทยประกาศยุติบริการ 1 ส.ค. 2568 หลังกระแส NFT ซบเซาและขาดการใช้งานจริง เคยเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันวงการ NFT ไทย ผู้ใช้งานควรเร่งตรวจสอบบัญชีและติดตามประกาศถอนทรัพย์สิน
ปลายเดือนมิถุนายน 2568 นักลงทุนคริปโตถูกปล้นเงินสดกว่า 3.4 ล้านบาทกลางลานจอดรถห้างดังย่านลาดพร้าว ขณะทำธุรกรรมซื้อขายเหรียญดิจิทัลกับกลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดในการก่อเหตุ ผู้เสียหายได้นัดหมายซื้อขายล่วงหน้า ก่อนถูกบุกปล้นและหลบหนีโดยรถยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสืบสวน พบมีการวางแผนล่วงหน้า เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงสูงของการทำธุรกรรมนอกระบบและถือเงินสดจำนวนมากในตลาดคริปโต
แม้ Squid Game Season 3 จะเป็นเพียงซีรีส์ แต่เรื่องของ “มยองกี” ยูทูบเบอร์สายคริปโตผู้ล้มละลายจากความมั่นใจเกินตัว กลับสะท้อนความจริงเจ็บลึกของนักลงทุนยุคใหม่ที่หวังรวยเร็วโดยไม่มีแผนสำรอง การล้มของเขาคือบทเรียนสำคัญว่า “ความรู้ไม่เท่ากับภูมิคุ้มกัน” และ “ความสำเร็จครั้งก่อน ไม่ใช่เกราะป้องกันความผิดพลาดครั้งหน้า”... อย่ารอให้พลาดแล้วค่อยเข้าใจว่า เกมการลงทุนก็โหดไม่ต่างจากเกมเอาชีวิตรอด
AvaTrade
FBS
STARTRADER
Doo Prime
IB
XM
AvaTrade
FBS
STARTRADER
Doo Prime
IB
XM
AvaTrade
FBS
STARTRADER
Doo Prime
IB
XM
AvaTrade
FBS
STARTRADER
Doo Prime
IB
XM