简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์ Black Wednesday ในปี 1992 คือวันที่ George Soros ใช้ความเข้าใจเชิงโครงสร้างและทุนมหาศาล “ชอร์ตค่าเงินปอนด์” จนธนาคารกลางอังกฤษต้องถอนตัวจากระบบ ERM และขาดทุนกว่า 3.3 พันล้านปอนด์ ขณะที่ Soros ทำกำไรพันล้านดอลลาร์ เหตุการณ์นี้ตอกย้ำว่า ในตลาดการเงิน “ใครเข้าใจระบบก่อน ย่อมได้เปรียบ” และแม้แต่นโยบายรัฐ ก็ไม่อาจต้านแรงของกลไกตลาดได้
ย้อนกลับไปปี 1992 … ปีที่กราฟค่าเงินปอนด์ไม่ได้แค่แกว่งแรง แต่ถึงขั้น “พังพินาศ” เพราะผู้ชายคนหนึ่ง — คนที่ไม่ได้มีอำนาจรัฐ ไม่ได้มีอาวุธ ไม่มีตำแหน่งในแบงก์ชาติ แต่เขามีอาวุธอย่างเดียว: พลังของเงิน + ความเข้าใจระบบ
ชายคนนั้นชื่อว่า George Soros และนี่คือเรื่องของ Black Wednesday วันที่อังกฤษถูกบังคับให้ “คุกเข่า” ออกจากระบบการเงินของยุโรป ภายใต้แรงกดดันจากเทรดเดอร์คนเดียว… ที่รู้ทันทั้งเกม
จุดเริ่มต้น เมื่อยุโรปอยากรวมพลังเงิน
ก่อนจะเข้าเรื่องเทรด ขอปูพื้นนิดนึ ยุค 1990s ยุโรปกำลังฝันใหญ่ อยากรวมพลังสร้างสกุลเงินเดียวกันในอนาคต เลยตั้งระบบหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า ERM (Exchange Rate Mechanism) แปลง่าย ๆ คือ ประเทศที่เข้าร่วมจะต้องตรึงค่าเงินตัวเองไว้ให้อยู่ในกรอบที่กำหนด เมื่อเทียบกับ “ค่าเงินกลาง” (ซึ่งตอนนั้นคือ German Mark) ใครที่ค่าเงินอ่อนหรือแข็งเกินจากกรอบ ก็ต้องเอาเงินสำรองมากด หรือดันค่าเงินกลับมา เป็นระบบที่ดูดีในทางทฤษฎี — แต่นรกในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะกับประเทศอย่าง “อังกฤษ”
ปัญหาของอังกฤษ เล่นเกมที่ตัวเองไม่พร้อม
อังกฤษตอนนั้นเศรษฐกิจยังอ่อนแอ อัตราดอกเบี้ยสูง เงินเฟ้อแรง แต่ก็อยากเข้าร่วม ERM เพื่อรักษาหน้าทางการเมือง การตรึงค่าเงินปอนด์ไว้ให้อยู่ในกรอบ ทำให้แบงก์ชาติอังกฤษต้อง “ดันค่าเงิน” ตลอดเวลา แม้เศรษฐกิจไม่ไหวก็ต้องฝืน ไม่งั้นหลุดกรอบ นี่แหละ... จุดที่ Soros มองเห็น
George Soros: ชายผู้มองเห็นก่อนคนอื่น
Soros รู้ว่าระบบนี้มัน “บิด” กับความจริงทางเศรษฐกิจ และรู้ว่าอังกฤษไม่มีทางรักษาค่าเงินไว้ได้ในระยะยาว เขาเลย “ชอร์ต” ค่าเงินปอนด์อย่างมหาศาล เรียกว่าเปิดเกมชนกับธนาคารกลางอังกฤษกันเลยทีเดียว พูดง่าย ๆ คือ Soros ซื้อเงินดอลลาร์ แล้วขายเงินปอนด์ไม่ยั้ง พร้อมระดมทุนจากเฮดจ์ฟันด์ในเครือ Quantum Fund เต็มพิกัด แรงเทขายมหาศาล ทำให้ค่าเงินปอนด์ร่วงเรื่อย ๆ ส่วนแบงก์ชาติอังกฤษก็พยายามต้านด้วยการ “ซื้อปอนด์คืน” และขึ้นดอกเบี้ยกระโดด แต่ไม่สำเร็จ...
จุดจบของความพยายาม: Black Wednesday
วันที่ 16 กันยายน 1992 หรือที่เราเรียกว่า Black Wednesday อังกฤษ “จำใจ” ต้องถอนตัวจากระบบ ERM ยอมรับความพ่ายแพ้ต่อ Soros และแรงกดดันตลาด ค่าเงินปอนด์ดิ่งลงทันที ผู้คนทั้งโลกตกตะลึง รัฐบาลอังกฤษเสียหายไปกว่า 3.3 พันล้านปอนด์ แต่ Soros? ฟาดกำไรไปราว 1,000 ล้านดอลลาร์ ภายในวันเดียว เขาจึงได้ฉายาว่า…“The Man Who Broke the Bank of England”
แล้วเราจะเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์นี้?
ในมุมของแอดเหยี่ยว เหตุการณ์นี้คือบทเรียนโคตรใหญ่ของวงการเทรด:
Black Wednesday จึงไม่ใช่แค่เรื่องของค่าเงินที่ร่วง แต่มันคือการเปลี่ยนโฉมหน้าของตลาดเงินโลก เพราะมันแสดงให้เห็นว่า นักเก็งกำไรที่เข้าใจระบบ สามารถเอาชนะประเทศได้ทั้งประเทศ
.
ในวันนี้ที่เรายังเทรดกันแบบรายย่อย เรื่องนี้อาจดูเหมือนไกลตัว แต่จริง ๆ แล้วมันคือเครื่องเตือนใจว่าอย่าเพิ่งมั่นใจแค่เพราะมีกลยุทธ์ หรืออินดิเคเตอร์ ลองกลับไปมองโครงสร้างใหญ่ ๆ ของเกมด้วยบ้าง เพราะบางครั้ง ตลาดไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยกราฟ... แต่มันขับเคลื่อนด้วย “แรงกดดันที่มองไม่เห็น” จากเบื้องหลังต่างหากและนั่นแหละ ที่เทรดเดอร์ควรรู้ทัน
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทความเตือนนักลงทุนมือใหม่ถึง 5 พฤติกรรมเสี่ยงที่มักทำให้พอร์ตพัง เช่น เทหมดหน้าตัก, ไม่ยอมขายขาดทุน, ซื้อเพราะ FOMO, เทรดรายวันไร้แผน และไม่อัปเดตความรู้ แนะนำให้มีวินัย กระจายความเสี่ยง และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่ออยู่รอดในตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
รีวิวโบรกเกอร์
“ภาษีทรัมป์” กำลังเป็นสัญญาณเตือนใหญ่สำหรับเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะนักเทรด FX หลังทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีนำเข้าอาจสูงถึง 36% หากเกิดขึ้นจริง ไทยอาจเสียเปรียบทางการค้าและ GDP ติดลบ ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความตึงเครียดด้านเทคโนโลยีและความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ยิ่งซ้ำเติมความเสี่ยง แอดเหยี่ยวเตือนเทรดเดอร์จับตานโยบายสหรัฐฯ และบริหารความเสี่ยงให้ดี เพราะพายุลูกใหญ่อาจใกล้กว่าที่คิด
ราคาทองคำเช้าวันจันทร์ปรับลดลง จากแรงกดดันค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าหลังตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ แข็งแกร่ง ทำให้ตลาดลดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่คำขู่ขึ้นภาษีของทรัมป์ยังไม่หนุนแรงซื้อทองอย่างมีนัยสำคัญ